วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทความการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอน


บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (เรื่องที่ 1)
บทความการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอน
สืบค้นบทความการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรม คือ การนำเอาความคิดใหม่ ความรู้ใหม่ การกระทำสิ่งใหม่เพื่อปรัปปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาการจัดการศึกษา นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่วนเทคโนโลยีคือผลสืบเนื่องจากจากนำเอาความคิดใหม่ ความรู้ใหม่วิธีการและเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ประยุกต์เข้ากับความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์นำมาใช้นำมาปฏิบัติในการจัดการศึกษาอย่างมีระบบการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้จะช่วยให้การจัดการศึกษามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาอย่างเหมาะสมขึ้นมีประสิทธิภาพดีขึ้น ได้ผลผลิตสูงขึ้นดังตัวอย่าง
นวัตกรรม”(Innovation) ในการจัดการเรียนการสอน เช่น การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ เปลี่ยนไปจากการใช้วิธีบรรยาย ซักถามธรรมดาการผลิตวัสดุ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน (InstructionalMaterials) การจัดทำ จัดหาพวกวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองได้ซึ่งเป็นพวก Software เช่น การทำแผนภาพ แผนภูมิหาวัสดุในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการสอน การจัดทำ บทเรียนสำเร็จรูป”“บทเรียนโปรแกรม” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการสอนซ่อมเสริมการจัดให้นักเรียนเก่งช่วยนักเรียนอ่อน ให้นักเรียนเป็นผู้ช่วยครู(Teacher assistant) เป็นต้น
เทคโนโลยี”(Technology)ในการจัดการเรียนการสอนเช่นโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้คอมพิวเตอร์ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอนนักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ซอฟแวร์ในคอมพิวเตอร์สั่งการตามลำดับขั้นการใช้วิธีโอเทปการใช้วิทยุใช้โทรทัศน์ช่วยสอนรับบทเรียนทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียนกระทรวงศึกษาธิการ เช่น การรับบทเรียนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นการอาศัยการใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
     นวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ INNOTECH
การใช้นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี(Technology)ในการจัดการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนถ้าใช้ทั้ง2อย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้เรียก“INNOTECH”ซึ่งมาจากคำเต็มว่า“InnovationTechnology”เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกันขณะนี้ยังไม่มีศัพท์เฉพาะในปัจจุบันถือว่าเป็นความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องนำเอาหลักวิชาใหม่ๆประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นใช้และใช้เทคนิคใหม่ๆที่เป็นInnovationมาใช้ร่วมกันไปกับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอุปกรณ์สำเร็จรูปเป็นเครื่องช่วยสอนซึ่งเป็นTechnologyนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไปว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำINNOTECH เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ
1.ประสิทธิภาพ(Efficiency)ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy)และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
2.ประสิทธิผล(Productivity)ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่าสูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น และ
3. ประหยัด (Economy)ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
ธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมันผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการและเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5ประการ ภารกิจการสอนของครู ควรจะดำเนินไปตามแนวของกฎ 2 ประการคือ
1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกันให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมและไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
นอกจากนั้น ธอร์นไดค์ยังได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขาไว้5 ประการคือ
1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation andMentalset)
4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
บรุนเนอร์นักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้มีความสนใจในพัฒนาการของมนุษย์เกี่ยวกับความสามารถในการใช้วัฒนธรรมของตนเองเป็นเครื่องมือในการ
ขยายความสามารถเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่มีความหยุดยั้งท่านผู้นี้เป็นผู้เสนอวิธีการเรียนรู้ด้วยการค้นพบด้วยตนเอง(DiscoveryLearning)เทคนิคสำคัญในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนของบรุนเนอร์ที่ถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนพอสรุปได้ 4 ประการ คือ
1.ในการจัดการศึกษาและการเรียนการสอนนักการศึกษาและครูผู้สอนทั้งหลายจะต้องยอมรับว่าการจูงใจผู้เรียนหรือการสร้างความพอใจแก่ผู้เรียนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนในสถานการณ์นั้นๆ เป็นสิ่งสำคัญ
2. จะต้องมีการจัดโครงสร้างของเนื้อหาวิชาให้เป็นลำดับขั้นตอนมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันในอันที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดมโนคติได้ดีที่สุด
3.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรให้สอดคล้องกับหลักพัฒนาการทางสติปัญหาเช่นควรจะได้รับการสอนในสิ่งที่เป็นรูปธรรมแล้วจึงค่อยขยายมโนคตินั้นให้เกี่ยวกับนามธรรมมากขึ้น
4. การเสริมแรงในระหว่างการสอนเป็นสิ่งจำเป็นเพราะว่าการเสริมแรงนั้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้ของนักเรียนผู้เรียนมาก
     การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้มาใช้ในเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีการเรียนรู้และหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอนให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขันด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลันช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3.ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความดับข้องใจเรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันการจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปและบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษาหรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education,Instructional Computer : IC, Computer-Based Instruction : CBI)มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษาไม่ว่าจะ เป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การจัดทำบัตรนักศึกษาการจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไปจนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตร
Robert Taylor นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ไว้ในหนังสือ the Computer inthe School : Tutor, Tuteeโดยได้แบ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียนออกเป็น 3 ลักษณะคือการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของติวเตอร์การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของอุปกรณ์การเรียนการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะของผู้เรียน (ดิเรกธีระภูธร .2545)
แต่กระบวนการในการจัดการศึกษาในภาพรวมไม่ได้หมายถึงสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียวเท่านั้นทั้งนี้ยังมีหน่วยงานทางการศึกษาและองค์กรอื่นที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและ
สนับสนุนการจัดการศึกษาด้วยฉะนั้นบทบาทของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการศึกษา จึงแบ่งเป็น3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร (computer Applications intoAdministration)
การบริหารการศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทาง นโยบายอันนำไปสู่แนวทางปฏิบัติในการจัดการศึกษาทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นสิ่งสำคัญในการที่จะช่วยให้บริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพก็คือความพร้อมของข้อมูลในการบริหารจัดการเพื่อการตัดสินใจและกำหนดนโยบายการศึกษาคอมพิวเตอร์จึงเข้ามามีบทบาทในการบริหารการศึกษามากขึ้นซึ่งช่วยให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนฐานข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดสรุปได้ดังนี้
1.1การบริหารงานทั่วไป เป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารงานบุคคลงานธุรการ การเงินและบัญชีการประชาสัมพันธ์รวมถึงการจัดทำระบบฐานข้อมูล (Management Information System :MIS)เพื่อประโยชน์ในการวางแผนและบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นต้น
1.2งานบริหารการเรียนการสอนเป็นการนำคอมพิวเตอร์ช่วยในการบริหารของครูผู้สอนนอกเหนือจากงานด้านการสอนปกติเช่น งานทะเบียน งานด้านเอกสาร การจัดตารางสอน ตารางสอบการตรวจและการเก็บรวบรวมคะแนน การสร้าง-วิเคราะห์ข้อสอบการวัดและประเมินผลการเรียน เป็นต้น
2.คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอน (Computer -ManagedInstruction)
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ครูผู้สอนไม่ต้องเสียเวลากับการงานบริหารครูผู้สอนจะได้มีเวลาไปปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยและมีเวลาให้กับนักเรียนมากขึ้นเช่น การจัดเลือกข้อสอบ การตรวจและให้คะแนนและวิเคราะห์ข้อสอบการเก็บประวัตินักเรียนเฉพาะวิชาที่สอนเพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนและการให้คำปรึกษาและช่วยในการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนของวิชาที่สอนรวมถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ครูผู้สอนสามารถวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงกับวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้เรียน
3.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer -Assisted Instruction :CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรงและเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับการสอนระหว่างครูกับนักเรียนที่อยู่ในห้องตามปกติคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีหลายประเภทตามวัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนได้เรียนกล่าวคือ ประเภทติวเตอร์ ประเภทแบบฝึกหัด ประเภทการจำลอง ประเภทเกมประเภทแบบทดสอบซึ่งในแต่ละประเภทก็มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนแต่วิธีการที่แตกต่างกันไปข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือช่วยลดความแตกต่างระหว่างผู้เรียนเช่นผู้ที่มีผลการเรียนต่ำก็สามารถชดเชยโดยการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้และสำหรับผู้มีผลการเรียนสูงก็สามารถเรียนเสริมบทเรียนหรือเรียนล่วงหน้าก่อนที่ผู้สอนจะทำการสอนก็ได้



สรุป
แนวโน้มในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอนโดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือมีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ World Wide Webในการใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction :WBI) หรือ E-learningซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)


บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (เรื่องที่ 2)
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
Information Technology คำว่า"เทคโนโลยีสารสนเทศ" หรือ"Information Technology"ตรงกับคำศัพธ์ที่ว่า"Informatique" ซึ่งหมายถึง "การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่นๆ มาใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม" นอกจากนี้ยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกันคือ"Telematioque"หมายถึง "การบูรณาการระหว่างคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร" และคำว่า "Burotique" หมายถึง สำนักงานอัตโนมัติ ดังนั้นเมื่อมีการนำคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งสองคำมาใช้แทนคำว่าเทคโนโลยี สารสนเทศ จึงได้คำว่า "Informatic" ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันกับ"Informatique" แต่คำเหล่านี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในสหรัฐอเมริการก็ได้มีการบัญญัติคำศัพท์ว่า "Teleputer" ขึ้นมาใช้แต่ก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน คำว่า "สารสนเทศ" หรือ "สารนิเทศ" ตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Information" ซึ่งราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้คำศัพท์ทั้งสองคำแทนคำว่า Information ได้ในวงการคอมพิวเตอร์การสื่อสาร และวงการธุรกิจ ส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าสารสนเทศมากกว่า "สารนิเทศ" มีความหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการเพื่อนำมาเผยแพร่และใช้งานทุก สาขาทุกด้าน
           ส่วนคำว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" (Imformation Technology:IT) เรียกสั้นๆว่า "ไอที" มีความหมายเน้นถึงขั้นตอนการดำเนินงานและการจัดการในกระบวนการสารสนเทศหรือ สารนิเทศ ตั้งแต่การเสาะแสวงหาการวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ปประโยชน์
          บีแฮนและโฮลัมส์ ให้ความหมายไว้ว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ"หมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถสร้างระบบสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดประสิทธิผลและประโยชน์อย่างมหาศาล ได้แก่ การใช้ทำเบียนข้อมูล การจัดเก็บ การประมวลผลการค้นคืน การส่งและรับสารสานเทศต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในระบบจัดเรียงเอกสาร เครื่องทำบัญชีอัตโนมัติ เป็นต้น
          มหาวิทยาลัยสุโยทัยธรรมาธิราช ให้ความหมายว่า "เทคโนโลยีสารสนเทศ" หมายถึง เทคโนโลยีทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ เมจากเทคโนโลยีเดิมที่ใข้ในการจัดเก็บ ประมวลผล แสดงผล และเผยแพร่สารสนเทศในรูปของข้อมูล ข้อความและเรื่อง โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม 
สรุป "เทคโนโลยีสารสนเทศ" คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ ในการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การส่งผ่าน การสื่อสารสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศ การรับสารสนเทศ รวมถึงการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมด้านสารสเทศ และการจัดการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ 
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
          ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
ความหมายของข้อมูล
          ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
ความหมายของสารสนเทศ
          สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
ความถูกต้อง (accuracy)
ความเชื่อถือได้ (reliability)
การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
ชัดเจน (clarity)
ระดับรายละเอียด (level of detail)
รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
สื่อการนำเสนอ (media)
ความยืดหยุ่น (flexibility)
ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
การมีส่วนร่วม (participation)
การเชื่อมโยง (connectivity)
องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ 
          ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)
-ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ 
-ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน 
-ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน 
-เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร 
-กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ 
-คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น 
ประสิทธิผล (Effectiveness)
ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้
ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย 
ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)

ข้อมูลเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
          โปรโตคอล TCP/IPภายในเวลาไม่นานนักหน่วยงานอื่น ๆได้เริ่มเห็นคุณประโยชน์ของการติดต่อสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอาร์พาเน็ต ดังนั้นหน่วยงานเหล่านั้นจึงต้องการนำเอาบรรดาคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานตนมาเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต
          การที่คอมพิวเตอร์จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นต้องใช้กฎเกณฑ์ด้านการสื่อสารเดียวกัน กฎเกณฑ์ด้านการสื่อสารในภาษาอังกฤษเรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อ ทั้งนี้เพราะว่าคอมพิวเตอร์ที่ผลิตจากแต่ละบริษัทต่างก็ใช้โปรโตคอลของตนเอง เช่น คอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยไอบีเอ็มก็ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม และเมื่อนำคอมพิวเตอร์นั้นไปเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ต ก็ย่อมไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ทั้งหลายในอาร์พาเน็ตได้ ทั้งนี้ เพราะว่าอาร์พาเน็ตก็ใช้โปรโตคอล ของตนเองไม่ได้ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม
          เพื่อให้การนำเอาคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นมาเชื่อมต่อได้สะดวก อาร์พาเน็ตต้องเปลี่ยนมาใช้โปรโตคอลที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อ และเป็นโปรโตคอลที่ไม่ได้เป็นของบริษัทหนึ่งบริษัทใดโดยเฉพาะ พร้อมทั้งข้อมูลทางด้านเทคนิคของโปรโตคอลนั้นเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะและ เป็นโปรโตคอลที่บริษัทและหน่วยงานส่วนใหญ่ยอมรับ โปรโตคอลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้คือTCP/IP วินตัน เซิร์ฟ(Vinton Cerf)จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และโรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) จาก BBN เป็นผู้พัฒนาโปรโตคอล TCP/IP อาร์พาเน็ตได้เปลี่ยนมาใช้โปรโตคอล TCP/IPในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ผลก็คือทำให้หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นที่มาเชื่อมต่อเข้าอาร์ พาเน็ตทำได้สะดวกขึ้น กล่าวคือถ้าต้องการเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ตก็ปรับให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้โป รโตคอล TCP/IPได้ จำนวนคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ตได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เรื่อย ๆอย่างรวดเร็ว
Internet เน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์ก
          ในทศวรรษที่ 1980 อาร์พาเน็ตได้ขยายตัวใหญ่ขึ้นอีก คือ ได้มีบรรดาเน็ตเวิร์กอื่น ๆเป็นจำนวนมากได้มาเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต ในตอนนี้กล่าวได้ว่าอาร์พาเน็ตประกอบขึ้นด้วยเน็ตเวิร์กเป็นจำนวนมากมิได้มี เพียงเน็ตเวิร์กเดียว(ในตอนเริ่มต้น) เน็ตเวิร์กทั้งหลายในอาร์พาเน็ตพอจำแนกออกได้ดังนี้
• ARPANET
• MILNET เน็ตเวิร์กด้านทหาร
• NSFNET (National Science Foundation network)
• OTHER NETS เน็ตเวิร์กอื่นๆ เช่น Bitnet Usenet
          สิ่งที่เกิดขึ้นกล่าวได้ว่าเป็นเน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์กโดยมีอาร์พาเน็ตเป็นเน็ตเวิร์กหนึ่งในนั้น ดังนั้นเพื่อให้สื่อความหมายจึ่งได้เปลี่ยนจากการใช้ชื่ออาร์พาเน็ตมาเป็นใช้ชื่ออินเตอร์เน็ต (Internet) แทนในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 และในช่วงเดียวกันนั้นกระทรวงกลาโหมของสหรัฐได้ตัดสินใจแยก MILNET เน็ตเวิร์กด้านทหารออกจากอินเตอร์เน็ต
          ต่อมาในทศวรรษที่ 1990 บรรดา Service Provider ทั้งหลาย เช่น CompuServe, Deplhi , AmericanOnline เป็นต้น ได้นำเน็ตเวิร์กของตนต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต จึงทำให้ผู้คนทั้งหลายสามารถใช้บริการจากService Provider เหล่านี้ได้ทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้หน่วยงานทางด้านการเงินบางแห่ง เช่น ธนาคาร ได้เปิดให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตด้วย
          ในทศวรรษที่ 1990 บรรดาหน่วยงาน service Provider และ online service provider ทั้งหลายได้ทำการเชื่อมต่อเข้าหา Internet
 ประเภทของเน็ตเวิร์กใน Internet
แนวคิดการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
          ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความ รู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้ กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ต่างก็เร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการ ศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริม การเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียน และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทาง ได้ ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทาง ของการศึกษา แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้เป็นจุดหมาย ปรากฏการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบ คอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริงเทคโนโลยีกับการเรียนการสอน
1. การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา
กระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือ กระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ
(1) การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus)
(2) การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด (Concept)
(3) การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ (Rule) ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive)
(4) การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)
(5) การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)
ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวน การทางปัญญานี้ โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความ คิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึก การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
2. การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา
การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด นั้น สามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตาม หลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สออาจจัดบุญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์ และจาก Electronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะ นำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพ ผลการเรียนรู้
บทสรุป
          มีผู้กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ IT นั้น การจัด T : Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้ และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ I : Information หรือสารสนเทศ ที่น่าจะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์ และความคาดหวังว่า เมื่อมีผู้ไปเยี่ยมเยือนสถานศึกษาใดในอนาคต ก็น่าจะได้พบความสมบูรณ์ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลาย ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบผลงานของครู และผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูง สุดในการเรียนการสอน

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

15 ต้นไม้มงคล ที่คนนิยมปลูกไว้ในบ้าน


บทความเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ (เรื่องที่ 1)

15 ต้นไม้มงคล ที่คนนิยมปลูกไว้ในบ้าน


          ใคร ๆ ก็อยากให้บ้านของตัวเองมีความร่มรื่น อยู่เย็นเป็นสุข หลายคนจึงมีความคิดจะปลูกต้นไม้มงคลไว้ภายในบ้าน เพื่อเอาเคล็ด เอาโชค เอาชัย ตามความเชื่อของคนโบร่ำโบราณที่บอกต่อกันมาช้านาน และถ้าใครยังไม่รู้ว่า คนโบราณเขาแนะนำให้ปลูกต้นไม้อะไร เพื่อเสริมสิริมงคลในด้านต่าง ๆ  วันนี้ กระปุกดอทคอม ก็รวบรวมต้นไม้มงคล 15 ชนิด ที่คนนิยมปลูกกันในบ้านมาบอกให้ทราบกัน เผื่อจะได้เป็นไอเดียดี ๆ สำหรับตกแต่งสวนในบ้านยังไงล่ะคะ

มะยม
 1. ต้นมะยม
          ฟังแค่ชื่อ "มะยม" ก็พอเดาได้ใช่ไหมล่ะว่า ทำไมคนถึงนิยมปลูกต้นมะยมไว้ที่บ้านกัน ก็เพราะเขาเชื่อกันว่า การปลูกต้นมะยมจะทำให้คนนิยมชมชอบ รักใคร่ มีชื่อเสียง ไม่มีคนคิดร้าย หรือเป็นศัตรูนั่นเอง ส่วนอีกความเชื่อหนึ่งก็บอกว่า หากปลูกต้นมะยมไว้ทางทิศตะวันตก จะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจได้

 2. ต้นมะม่วง
          นอกจากจะให้ร่มเงา และผลแสนอร่อยแล้ว มะม่วงยังเป็นต้นไม้มงคลที่มีความเชื่อมาตั้งแต่พุทธกาลว่า หากปลูกต้นมะม่วงไว้ทางทิศใต้ของบ้านแล้ว จะทำให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านร่ำรวยยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น และยังช่วยป้องกันไม่ให้คนอื่นมารังแก รังควาน หรือใส่ความได้ด้วย

 3. ต้นขนุน
          อีกหนึ่งต้นไม้ชื่อมงคลที่คนนิยมปลูกเช่นกัน เพราะตามความเชื่อของคนโบราณ บอกกันว่า การปลูกต้นขนุนจะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รับการสนับสนุน มีคนคอยอุปการะอุดหนุนจุนเจือ คอยให้ความช่วยเหลือ มีคนสรรเสริญ สามารถป้องกันอันตรายและคนใส่ร้ายป้ายสีได้ ซึ่งหากบ้านไหนคิดจะปลูกต้นขนุนแล้วล่ะก็ ควรเลือกปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จะดีที่สุด โดยให้หัวหน้าครอบครัวเป็นคนลงมือปลูกในวันจันทร์ หรือวันพฤหัสบดี

 4. ต้นมะขาม
          หากบ้านไหนต้องการให้ผู้อื่นเกรงขาม ตามความเชื่อเขาแนะนำให้ปลูกต้นมะขามไว้ทางทิศตะวันตก เพราะเชื่อกันว่า ต้นมะขามจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเป็นที่น่าเกรงขามต่อผู้อื่น และทำให้คนชื่นชอบ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันคดีความ ภูตผีปีศาจ และผีซ้ำด้ำพลอย

 5. ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน
          ต้นไม้ประจำชาติไทยที่ออกดอกสีเหลืองทองสวยอร่ามนี้ คนไทยสมัยโบราณเชื่อกันว่า หากนำมาปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน จะช่วยให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ นอกจากนี้ จะช่วยให้คนในบ้านมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ด้วย เพราะต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจำชาติไทย ส่วนใบของราชพฤกษ์ก็มักถูกนำไปใช้ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ คนจึงเชื่อว่า ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากทีเดียว

 6. ต้นกล้วย
          ต้นไม้ที่ปลูกง่ายอย่างต้นกล้วยนี้ ก็เป็นต้นไม้ที่คนไทยสมัยก่อนนิยมปลูกไว้ในบ้านกันมาก เพราะนอกจากจะสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของต้นกล้วย ทั้งหัวปลี ลำต้น ผล ใบ ฯลฯ มาทำประโยชน์ได้มากมายแล้ว เขายังมีความเชื่อด้วยว่า การปลูกต้นกล้วยไว้ทางทิศตะวันออกของบ้านจะช่วยให้การทำงานราบรื่น คิดสิ่งใดทำสิ่งใดก็ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากนั่นไง 

 7. ต้นไผ่
          ตามตำราฮวงจุ้ยของจีนบอกไว้ว่า ต้นไผ่เป็นสัญลักษณ์ของความสง่าเหนือธรรมชาติ หากปลูกไว้ในบ้านจะเสริมมงคลให้ผู้อยู่อาศัย ทำให้เป็นคนมุ่งมั่น ตั้งใจจริง มีสติปัญญา เอื้ออารี และกตัญญูรู้คุณ ซึ่งก็ไม่ต่างจากคนไทยที่เชื่อกันว่า หากปลูกต้นไผ่ไว้ในบริเวณบ้าน จะทำให้สมาชิกในบ้านตั้งใจทำงาน ประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ไม่คดโกงเอารัดเอาเปรียบใคร นั่นก็เป็นเพราะลักษณะของต้นไผ่ที่มีลำต้นเหยียดตรง แข็งแรง สามารถต้านทานแรงลมพายุได้นั่นเอง
          หากจะปลูกต้นไผ่ ควรปลูกไว้ริมรั้วของบ้าน หรือบริเวณที่โล่งกว้าง ให้ต้นไผ่ได้แตกหน่อเจริญงอกงาม และควรปลูกไว้ทางทิศตะวันออก เพื่อให้ต้นไผ่ได้รับแสงแดดยามเช้า นอกจากนี้ ยังควรปลูกต้นไผ่ในวันเสาร์จึงจะเป็นมงคล อ้อ...ลืมบอกไปว่า ต้นไผ่มีหลากหลายชนิด ทั้งไผ่เหลืองทอง ไผ่สีสุก ไผ่เตี้ย ไผ่น้ำเต้า แต่คนโบราณเชื่อกันว่า ถ้าปลูกไผ่สีสุกจะช่วยให้สมาชิกในบ้านประสบความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง และมีความสุขกันถ้วนหน้า เพราะชื่อไผ่สีสุกไปคล้องกับคำอวยพรที่ว่า "มั่งมีศรีสุข" นั่นเอง

ต้นวาสนา
 8. ต้นวาสนา หรือ วาสนาอธิษฐาน
          เห็นหลาย ๆ บ้านนิยมปลูกต้นวาสนากัน เพราะชื่อเป็นมงคล จึงทำให้คนเชื่อกันว่า หากบ้านใดปลูกต้นวาสนาจะทำให้มีความสุข ความสมหวังในชีวิต และเป็นต้นไม้แห่งโชคลาภด้วย และการเสี่ยงทายด้วย โดยหลายคนเชื่อกันว่า หากต้นวาสนาบ้านไหนออกดอกสวยงาม จะทำให้มีโชคลาภ ปรารถนาสิ่งใดก็จะสมดังใจมุ่งหมาย
          แล้วถ้าคิดจะปลูกต้นวาสนาล่ะก็ ตามตำราเขาแนะนำให้ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเนื่องจากต้นวาสนาเป็นต้นไม้ที่ให้ประโยชน์ทางใบ จึงควรปลูกในวันอังคาร โดยให้ผู้หญิงเป็นผู้ปลูกจะดีที่สุด เพราะชื่อวาสนาอธิษฐานเป็นชื่อที่เหมาะกับสุภาพสตรี

 9. ต้นแก้ว
          ไม้ยืนต้นขนาดไม่ใหญ่ที่มีดอกสีขาวส่งกลิ่นหอมรัญจวนใจนี้ คนไทยนิยมปลูกไว้ริมรั้วบ้าน หรือปลูกลงในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารก็ได้ โดยคำว่า "แก้ว" หมายถึงสิ่งของมีค่าที่คนนับถือบูชา เปรียบได้กับของมีค่าสูงดั่งดวงแก้ว ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า หากปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้าน จะทำให้สมาชิกในบ้านเป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์เหมือนแก้ว มีความเบิกบานใจ และมีคนรักดั่งแก้วตาดวงใจนั่นเอง
          เพื่อความเป็นสิริมงคล โบราณแนะนำให้ปลูกต้นแก้วไว้ทางทิศตะวันออก และให้ปลูกในวันพุธ ตามความเชื่อที่ว่า การปลูกไม้ที่เอาประโยชน์ทางดอกควรปลูกในวันพุธแล้วจะเป็นมงคล

 10. ต้นเข็ม
          ทุกคนคงรู้กันอยู่แล้วว่า ดอกเข็ม ที่ใช้ในการประกอบพิธีไหว้ครู เป็นสัญลักษณ์แทนความฉลาดหลักแหลมเปรียบกับเข็มที่แหลมคม เช่นเดียวกับการปลูกต้นเข็มไว้ในบ้านที่คนโบราณเขาก็เชื่อว่า จะทำให้สมาชิกในบ้านมีความฉลาดหลักแหลมเหมือนกับดอกเข็ม และยังช่วยให้มีปฏิภาณไหวพริบเอาตัวรอดได้ด้วย หรือหากบ้านใดมีเด็กที่กำลังอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน ดอกเข็มก็กระตุ้นให้เด็ก ๆ สนใจใฝ่หาความรู้มาเติมเต็มให้ตัวเองอยู่เสมอ
          หากต้องการจะปลูกต้นเข็ม โบราณแนะนำให้หาคนที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเล่าเรียนเป็นผู้ลงมือปลูก โดยเลือกปลูกทางทิศตะวันออก และปลูกในวันพุธ จะช่วยเสริมสิริมงคลให้แก่คนในบ้าน

 11. ต้นกระดังงา
          หากต้องการให้วงศ์ตระกูลมีชื่อเสียงโด่งดัง ต้นกระดังงา ก็คือต้นไม้มงคลตามความเชื่อของคนโบราณที่ปรารถนาให้ลูกหลานมีชื่อเสียงก้องกังวานไปไกล มีลาภยศสรรเสริญ มีเงินทอง ผู้คนทั่วไปนับหน้าถือตา เพราะชื่อ "กระดังงา" เป็นชื่อที่มีความหมายที่ดี และคนก็เชื่อกันว่า เสียงที่ดังนั้นไพเราะเพราะพริ้งดังก้องไปถึงสรวงสวรรค์เลยล่ะ
          นอกจากเรื่องชื่อเสียงโด่งดังแล้ว คนไทยยังเชื่อกันว่า กระดังงาเป็นต้นไม้ที่ช่วยเสริมเสน่ห์ให้สมาชิกในบ้านให้เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป และมีชีวิตที่หอมหวลเหมือนกับกลิ่นหอมของดอกกระดังงา บ้านไหนที่คิดจะปลูกกระดังงาควรปลูกในวันพุธ ไว้ทางทิศตะวันออกของตัวบ้าน เพื่อให้แสงอาทิตย์สาดส่อง จะช่วยให้ชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว เพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่ตัวบ้าน และครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบ้าน

 12. ต้นโป๊ยเซียน
          ต้นไม้แห่งโชคลาภที่คนไทยนิยมปลูกกันมากอีกชนิด เพราะเชื่อว่าจะทำลาภผลมาให้ และจะทำให้ครอบครัวสงบสุข ขณะเดียวกัน บางคนยังเชื่อว่า โป๊ยเซียน เป็นต้นไม้เสี่ยงทาย หากบ้านไหนปลูกต้นโป๊ยเซียนออกดอกได้ 8 ดอก ก็จะมีโชคลาภ เงินทอง ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง เพราะโป๊ยเซียนเป็นตัวแทนของเทพเจ้า 8 องค์ ที่จะนำความเจริญรุ่งเรือง และช่วยปกป้องคุ้มครองผู้ที่เป็นเจ้าของ
          ทั้งนี้ ตามเคล็ดปฏิบัติการปลูกต้นโป๊ยเซียน ควรจะให้ผู้ที่มีอายุ หรือญาติผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือมาลงมือปลูกให้ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นทิศมงคลของต้นโป๊ยเซียน จะยิ่งเสริมความเป็นสิริมงคลให้ผู้อยู่อาศัย และควรปลูกในวันพุธ เพื่อให้ดอกที่ออกงดงามตามความเชื่อคนโบราณนั่นเอง ที่สำคัญควรเลือกดอกสีเหลือง หรือสีส้ม จะเป็นมงคลที่สุด

 13. ต้นโกสน
          ไม้พุ่มหลากสีชนิดนี้ นิยมเป็นปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะภายในพระราชวัง และวัด เพื่อหวังให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข หากนำมาปลูกในบ้าน ก็จะทำให้ครอบครัวมีแต่ความสงบสุข ปราศจากความขัดแย้งใด ๆ นั่นเพราะคนสมัยก่อนเชื่อกันว่า คำว่า "โกสน" มีเสียงใกล้เคียงกับคำว่า "กุศล" ซึ่งหมายถึงการสร้างบุญ สร้างสิ่งที่ดีงามเป็นบุญเป็นกุศลนั่นเอง
          ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล คนโบราณก็ยังแนะนำให้ปลูกต้นโกสนในวันอังคาร และปลูกไว้ทางทิศตะวันออกของบ้านเพื่อรับแสงแดดยามเช้า จะทำให้เห็นสีสันของใบที่สวยสด ดึงดูดสายตาของผู้ที่พบเห็น

 14. ต้นโมก
          มีความเชื่อบอกต่อ ๆ กันมาว่า การปลูกต้นโมก หรือ โมกข ที่หมายถึงผู้ที่หลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง จะนำเอาความสุขกายสบายใจ ความปลอดภัยมาให้สมาชิกในบ้าน เพราะดอกโมกมีสีขาวบริสุทธิ์สะอาด ส่งกลิ่นหอมทั้งวัน บางคนอาจจะเรียกต้นโมกว่า พุดพิชญา หรือ พุทธรักษา เพราะเชื่อว่าจะต้นโมกสามารถปกป้องคุ้มครองสิ่งชั่วร้ายให้สมาชิกในบ้านได้
          เคล็ดลับสำหรับการปลูกต้นโมกก็คือ ให้ปลูกในวันเสาร์ เพราะเป็นต้นไม้ที่ปลูกเพื่อเอาคุณตามความเชื่อของคนโบราณ จะช่วยให้ต้นโมกเจริญงอกงามได้ดี และปกป้องคุ้มครองคนในบ้านได้ ซึ่งทิศที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกต้นโมกก็คือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ


15. ต้นบานไม่รู้โรย
          เขาว่ากันว่าบ้านไหนมีคู่รักต้องปลูกต้นบานไม่รู้โรยไว้ในบ้านด้วย เพราะชื่อบานไม่รู้โรยเป็นชื่อมงคล หมายความถึง ความยั่งยืน ความอดทน และไม่ย่อท้อ หากเปรียบกับความรักก็เหมือนความรักที่ยั่งยืน ช่วยให้คู่รักมีความผูกพันมั่นคงต่อกันไปนาน ๆ ปราศจากความโรยรา หรือผันแปรตลอดไปนั่นเอง ฟังแล้วน่าปลูกไว้จริง ๆ ^^

          และนี่ก็เป็นตัวอย่างต้นไม้มงคลที่ควรปลูกในบ้าน 15 ชนิด ที่คนโบราณเชื่อกันว่า จะช่วยเสริมพลังด้านต่าง ๆ ให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน แต่อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นเพียงแค่ความเชื่อที่บอกเล่า และรับรู้สืบทอดต่อกันมาเท่านั้นนะคะ เพราะจริง ๆ แล้ว หากปรารถนาจะให้ครอบครัวมีแต่ความสุขความเจริญ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในบ้านที่จะช่วยกันสร้างสิ่งดี ๆ ที่เป็นมงคลให้เกิดขึ้นด้วยตัวเองค่ะ

ดอกไม้ ประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน


บทความเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ (เรื่องที่ 2)
ดอกไม้ ประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน


วันอาทิตย์


 วันจันทร์

วันอังคาร


 วันพุธ


 วันพฤหัสบดี

วันศุกร์

วันเสาร์



ผัก-ผลไม้ ป้องกันโรคมะเร็ง


บทความเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ (เรื่องที่ 3)

ผัก-ผลไม้ ป้องกันโรคมะเร็ง
ข้อแนะนำเพื่อการป้องกันมะเร็ง
ไม่สูบบุหรี่ ไม่เคี้ยวยาสูบ
งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
กินผักผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่งของอาหารในแต่ละมื้อ
เลือกอาหารที่มีพืชหลากหลายชนิด เป็นองค์ประกอบหลัก
จำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง
เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ
จำกัดอาหารเค็ม
ไม่กินอาหารที่ไหม้เกรียมบ่อยๆ
เตรียม และเก็บอาหารอย่างถูกสุขอนามัย
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ดูแลน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน
พักผ่อนให้เพียงพอ
ตรวจเช็คสุขภาพสม่ำเสมอ

          
          พืชผัก- ผลไม้นอกจากมีเส้นใยอาหาร แล้วยังประกอบไปด้วยสารต้านมะเร็งอีกมากมายหลายชนิดมะเร็งเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับหนึ่ง ในคนไทย มะเร็งเป็นโรคร้ายแต่สามารถป้องกันได้ กินอาหารที่ประกอบด้วยผัก- ผลไม้ มากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารที่กิน หรือ 500 กรัมต่อวัน และลดอาหารไขมันสัตว์ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ 20-30%จากผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ในประชากรที่กินอาหาร ประกอบด้วยพืชผัก และผลไม้มากเป็นประจำ จะมีอัตราการเกิดมะเร็งน้อยกว่า ในประชากรที่กินอาหารเนื้อสัตว์มาก และกินผักผลไม้น้อยใน
          ผัก - ผลไม้ มีเส้นใยอาหาร เกลือแร่ วิตามัน และสารหลายชนิด (bioactive compounds) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งขบวนการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งสามารถป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคอ้วน โรคอัลไซเมอร์ และชะลอความแก่ชราได้อีกด้วย
          กินผัก ผลไม้สด วันละ 500 กรัม เป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ 20% (มะเร็งช่องปาก หลอดอาหาร ปอด กระเพาะอาหาร ตับ ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน เต้านม กระเพาะปัสสาวะ)เส้นใยอาหาร
          เส้นใยอาหารโดยทั่วไป หมายถึง สารจากพืชที่ไม่ย่อยสลายด้วยเอนไซม์ ในทางเดินอาหารของคน การกินอาหารที่มีเส้นใยสูง มีความสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยง ต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และอาจลดความเสี่ยงของมะเร็งชนิดอื่น เช่น มะเร็งเต้านม ช่องปาก กระเพาะอาหาร และทวารหนัก เป็นต้นสารเม็ดสีในพืช
           สารเม็ดสีในพืชมีคุณสมบัติต้านมะเร็งหลายชนิด เช่น ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น แบ่งได้ กลุ่ม ดังนี้คลอโรฟิลล์ สารสีเขียว พบในพืชใบเขียวทั่วไป เช่น คะน้า ผักโขม ตำลึง และสาหร่าย เป็นต้น สารคาโรทีนอยด์ สารสีส้ม - เหลือง และ แดง - ส้ม มีหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน ลูทีน ไลโคปีน เป็นต้น พบในแครอท ฟักทอง มะเขือเทศ และผักใบเขียวอื่นๆ สารแอนโทไซยานิดิน สารสีน้ำเงิน ม่วง แดง พบในหัวบีทเบอร์รี่ เชอร์รี่ องุ่นม่วง และแดง กะหล่ำม่วง เป็นต้น

[ภระหล่ำ.jpg] 
ผักตระกูลกะหล่ำ     
        พืชตระกูลกระหล่ำมีหลากชนิด เช่น บรอคโคลี กระหล่ำปลี ดอกกระหล่ำ หัวผักกาด มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น sulforaphane และสาร isothiocyanate ซึ่งช่วยขับพิษสารเคมี สาร indole สามารถจับสารก่อมะเร็ง ขับพิษสารเคมี และรักษาสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน สาร glucosinolate ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญของเนื้องอก เป็นต้น

[ส้ม.jpg]
ส้ม - มะนาว
        นอกจากมีวิตามินซีแล้ว ยังประกอบไปด้วยสารอื่น อีก เช่น สาร flavonoids ที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ยับยั่งการแข็งตัวของเลือด ต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง สาร limonoids ที่มีคุณสมบัติกระตุ้นการขับพิษ ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก สาร limonoids มีคุณสมบัติกระตุ้นการขับพิษ สาร carotenoids มีคุณสมบัติยับยั้งอนุมูลอิสระ สาร terpenes ลดการสร้างคลอเรสเตอรอล และส่งเสริมเอนไซม์ที่ยับยั้งสารก่อมะเร็ง

[หอม.jpg]
หอม - กระเทียม
        พืชประเภท หอม - กระเทียม มีสารป้องกันมะเร็งหลายชนิด เช่น สาร diallyl disulfide และ daillyl trisulfide พบในน้ำมันกระเทียม สาร S-allyl cystein พบในกระเทียมทุบ สารเหล่านี้มีกลไกการทำงานหลายอย่าง เช่น กระตุ้นการขับพิษ ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง เพิ่มภูมิคุ้มกัน เป็นต้นเห็ด และสาหร่ายทะเลสาร lentinan ในเห็ดหอม และเห็ดหลินจือ และสาร polysaccharide ในเห็ด Mitake สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และสามารถยับยั้งการแพร่กระจาย ของเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง ในสาหร่ายทะเลมีสาร mucin ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเส้นใยอาหาร จะดูดซับน้ำ และสารพิษ นอกจากนี้ยังพบสาร mucopolysaccharide ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย

เครื่องเทศในเครื่องเทศ
        พบสารต้านมะเร็ง เช่น พริกไทย ขิง ขมิ้น rosemary และอื่นๆ สารเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านอนุมูลอิสระ

[สับปะรด.jpg]

ผัก - ผลไม้อื่นๆสับปะรด
        มีสาร bromelain ต้านมะเร็งในสัตว์ทดลอง ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งทับทิม แอปเปิล องุ่น และสตรอเบอร์รี่ มีสาร Ellagic acid ที่สามารถจับและทำลายพิษ ของสารก่อมะเร็ง แอสปารากัส อะโวกาโด บรอคโคลี แตงโม มีสาร glutathione เป็นสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และขับพิษสารเคมี ผักชีฝรั่ง มีสาร polyacetylenes สามารถยับยั้งการสร้างสารส่งเสริมมะเร็งได้